ข้อมูลพื้นฐาน เทศบาลนครนครสวรรค์

เทศบาลนครนครสวรรค์มีอาณาเขตดังนี้

หลักเขตที่ 1 ตั้งอยู่ตามแนวเส้นตั้งฉากระยะ 350 เมตร กับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 กรุงเทพมหานคร-แม่สาย (เขตแดน) ฟากเหนือตรง กม. 241+650

ด้านเหนือ

จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นขนานระยะ 350 เมตร กับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 กรุงเทพมหานคร-แม่สาย (เขตแดน) ไปทางทิศตะวันออก ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางถนนอ้อมเขาโกรกพม่า ระยะ 200 เมตร

จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นขนานระยะ 200 เมตร กับศูนย์กลางถนนอ้อมเขาโกรกพม่า ฟากตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ตามแนวเส้นขนานระยะ 200 เมตร กับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1182 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 (นครสวรรค์) – บรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1073 (บรรพตพิสัย) ฟากตะวันตก ตรง กม. 1+170

จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1182 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 (นครสวรรค์) – บรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1073 (บรรพตพิสัย) ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงฝั่งใต้ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางสะพานข้ามแม่น้ำปิง ระยะ 472 เมตร

จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นเรียบแม่น้ำปิงฝั่งใต้ ไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง ตรงข้ามกับทางเข้าที่ทำการประปาเทศบาลนครนครสวรรค์

จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามแม่น้ำปิง ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากมุมเขตด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขตวัดบึงเสนาสน์ราษฎรศรัทธาธรรม (วัดคลองคาง) ระยะ 100 เมตร

ด้านตะวันออก

จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ตรงมุมเขตด้านทิศตะวันตกของวัดปากน้ำโพเหนือ (วัดทองธรรมชาติ) ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก

จากหลักเขตที่ 7 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามแม่น้ำน่าน ผ่านทางรถไฟสายเหนือ ตรง กม. 250+996 ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ตามแนวเส้นตั้งฉากระยะ 200 เมตร กับทางรถไฟสายเหนือ ฟากตะวันออก ตรง กม. 249+213

ด้านทิศใต้

จากหลักเขตที่ 9 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตก ผ่านทางรถไฟสายเหนือ ตรง กม. 249+213 ถึงหลักเขตที่ 10 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางรถไฟสายเหนือฟากตะวันตก

จากหลักเขตที่ 10 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตเขตที่ 11 ซึ่งตั้งอยู่ ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 1 กรุงเทพมหานคร-แม่สาย (เขตแดน) ฟากตะวันออกตรง กม. 235+258

จากหลักเขตที่ 11 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 1 กรุงเทพมหานคร-แม่สาย (เขตแดน) ตรง กม. 235+258 และเป็นเส้นเลียบตามแนวเขตทหารมณฑลทหารบกที่ 4 ค่ายจิรประวัติ ด้านเหนือจนสุดมุมเขตด้านทิศเหนือของเขตทหาร แล้วเป็นเส้นตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงหลักเขตที่ 12 ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตรงสุดทางเดิน ไปยังริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากมุมตะวันออกเฉียงเหนือของโรงงานสุรา ระยะ 120 เมตร

จากหลักเขตที่ 12 เป็นเส้นเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ 13 ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ห่างจากมุมเขตด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดศรีสุวรรณ (วัดเขื่อนแดง) ระยะ 15 เมตร

จากหลักเขตที่ 13 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3005 ท่าตะกุ๋ย-โกรกพระ ถึงหลักเขตที่ 14 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3005 ท่าตะกุ๋ย-โกรกพระ ฟากตะวันตก ตรง กม. 0+440

จากหลักเขตที่ 14 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตก ถึงหลักเขตที่ 15 ซึ่งตั้งอยู่ตรงตามแนวเส้นตั้งฉาก ระยะ 200 เมตร กับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3005 ท่าตะกุ๋ย-โกรกพระ ตรง กม. 0+440

ด้านตะวันตก

จากหลักเขตที่ 15 เป็นเส้นขนานระยะ 200 เมตร กับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3005 ท่าตะกุ๋ย-โกรกพระ ไปทางทิศเหนือผ่านถนน รพช.นว 11052 สันคู-ท่าทอง ถึงหลักเขตที่ 16 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนน รพช.นว 11055 สันคู-วังไผ่ ฟากใต้

จากหลักเขตที่ 16 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านถนน รพช.นว 11055 สันคู-วังไผ่ ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 กรุงเทพมหานคร-แม่สาย (เขตแดน) ถึงหลักเขตที่ 17 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 กรุงเทพมหานคร-แม่สาย (เขตแดน) ฟากเหนือ ตรง กม. 241+650

จากหลักเขตที่ 17 เป็นเส้นตรงไปทางทิศเหนือ บรรจบกับหลักเขตที่ 1

1. สภาพทั่วไป

• ขนาดและที่ตั้ง

เทศบาลนครนครสวรรค์ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ใจกลางท้องที่อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือประมาณ 237 กิโลเมตร มีพื้นที่ในเขตการปกครอง จำนวน 27.87ตารางกิโลเมตร พื้นที่ครอบคลุม 5ตำบล ดังนี้

  1. ตำบลปากน้ำโพทั้งตำบล
  2. ตำบลนครสวรรค์ตก หมู่ที่ 1 , 4 , 5 , 9 , 10
  3. ตำบลนครสวรรค์ออก หมู่ที่ 1 , 4 , 5 , 6 , 7
  4. ตำบลวัดไทร หมู่ที่10 , 11 , 12 , 13
  5. ตำบลแควใหญ่ หมู่ที่ 4 , 7 , 10

• อาณาเขต

เทศบาลนครนครสวรรค์ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ จดแนวสะพานข้ามแม่น้ำปิงใกล้เกาะตาเทพอบต.บางม่วง และ อบต.บึงเสนาท

ทิศใต้ จดวัดศรีสุวรรณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข3005(ท่าตากุ๋ย -โกรกพระ) และอบต.นครสวรรค์ออก

ทิศตะวันออกจดทางรถไฟบริเวณสถานีรถไฟปากน้ำโพอบต.แควใหญ่ และบึงบอระเพ็ด

ทิศตะวันตก จดสะพาน2เขาขาด (กม.241+650) และอบต.หนองกรด

• สภาพภูมิศาสตร์ และทรัพยากรธรรมชาติ

ลักษณะภูมิประเทศในเขตเทศบาลส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มโดยมีภูเขาขนาดเล็กอยู่ตอนกลางได้แก่เขากบซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ185.50เมตรนอกจากนี้ยังมีเขาน้อยเขาวัดไทรเขาดาวดึงส์และเขาโกรกพม่าที่มีลักษณะเป็นภูเขาขนาดเล็กมีแม่น้ำปิงผ่านกลางพื้นที่ตั้งแต่ทางด้านทิศเหนืออ้อมมาทาง ทิศตะวันออกแล้วเลี้ยวลงใต้มารวมกับแม่น้ำน่านบริเวณปากน้ำโพเป็นต้นแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านทิศตะวันออกของเทศบาล

• สภาพภูมิอากาศ

ภูมิอากาศโดยทั่วไปจะเป็นภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน ที่มีลักษณะค่อนข้างร้อนและแห้งแล้งมีอุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย 34.4 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ยที่ 20 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีที่ 28.7 องศาเซลเซียสมีฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม โดยเฉพาะในเขตเทศบาลถือว่าเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุกของจังหวัด ซึ่งมีฝนตกอยู่ระหว่าง 80 - 100 วันต่อปี

• ทรัพยากรธรรมชาติ

• ป่าไม้ในเขตเทศบาลมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นป่าไม้อยู่ตามเทือกเขากบเขาน้อย เขาวัดไทรเขาดาวดึงส์และเขาโกรกพม่าซึ่งมีลักษณะเป็นป่าโปร่งเชิงเขามีบางส่วนเป็นป่าปกคลุมหนาแน่น

• แหล่งน้ำสำคัญได้แก่

1 แม่น้ำเจ้าพระยาเกิดจากการไหลมารวมกันของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่บริเวณ ปากน้ำโพ แล้วไหลลงทางทิศใต้สู่ที่ราบลุ่มภาคกลางและออกสู่ทะเลที่อ่าวไทยเป็นแม่น้ำสายสำคัญ ที่มีประโยชน์ทั้งทางด้านการเกษตรการคมนาคมการอุตสาหกรรมการอุปโภคบริโภคของพื้นที่บริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำมาตั้งแต่อดีตและยังเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญอีกด้วย

2 แม่น้ำปิงเป็นลำน้ำสายใหญ่ที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาภาคเหนือไหลผ่านท้องที่อำเภอบรรพตพิสัยอำเภอเก้าเลี้ยวมาบรรจบกับแม่น้ำน่านเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตำบลปากน้ำโพเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่สำคัญอีกสายหนึ่งทั้งในด้านการเกษตรอุตสาหกรรมการอุปโภคบริโภคของประชากรบริเวณสองฝั่งที่แม่น้ำไหลผ่าน

3 แม่น้ำน่านเป็นลำน้ำสายใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาผีปันน้ำจังหวัดน่านไหลผ่านจังหวัดสำคัญคือพิษณุโลกพิจิตรและผ่านท้องที่อำเภอชุมแสงบรรจบกับแม่น้ำวังแล้วไหลผ่านอำเภอเมืองนครสวรรค์ ก่อนมาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่ตำบลปากน้ำโพเป็นแหล่งน้ำที่ใช้ประโยชน์ทั้งด้านการเกษตรการคมนาคมการอุปโภคบริโภค

• แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

ในเขตเทศบาลมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่น่าสนใจดังนี้

  1. วัดนครสวรรค์และหลวงพ่อศรีสวรรค์ (วัดหัวเมือง)
  2. วัดจอมคีรีนาคพรต (วัดเขา)
  3. วัดคีรีวงศ์
  4. ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ – เจ้าแม่ทับทิม
  5. ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา
  6. เขาวรนาถบรรพต ( เขากบ )
  7. หอชมเมือง

• ศิลปวัฒนธรรมประจำถิ่น

  1. งานประเพณีเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ
  2. ประเพณีลอยกระทงสาย
  3. งานสืบสานวัฒนธรรมต้นน้ำเจ้าพระยา

• สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

อุทยานสวรรค์ (หนองสมบุญ)ตั้งอยู่ใจกลางเมืองบริเวณริมทางหลวงสายเอเชียประกอบด้วยบึงน้ำขนาดใหญ่และลานกีฬาสำหรับออกกำลังกายมีเนื้อที่รวม316ไร่

พื้นที่สาธารณะหน้าเทศบาลตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าสำนักงานเทศบาลนครนครสวรรค์เป็นพื้นที่พักผ่อนและออกกำลังกายประกอบด้วยพื้นที่พักผ่อนและสนามเด็กเล่นมีเนื้อที่ประมาณ3 ไร่

พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าศาลากลางหลังเดิมเป็นพื้นที่สาธารณะริมแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับพักผ่อนหย่อนใจของคนเมืองมีที่นั่งพักเป็นลักษณะขั้นบันไดลงไปในแม่น้ำและใช้สำหรับงานเทศกาลต่างๆเช่นแข่งเรือยาวและลอยกระทง

สนามกีฬากลางจังหวัดนครสวรรค์เป็นสนามกีฬาประจำจังหวัดนครสวรรค์ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาโกรกพม่าติดกับถนนพหลโยธินในบริเวณสนามกีฬาประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านกีฬาทั้งกลางแจ้งและในร่มทั้งสนามฟุตบอลสนามบาสเกตบอลสระว่ายน้ำอาคารเอนกประสงค์ ในเนื้อที่กว่า64ไร่

ประชากร ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2556

จำนวนประชากรเทศบาลนครนครสวรรค์ ปี 2556 รวม 86,703 คน แยกเป็น เพศชาย 40,958 คน เพศหญิง 45,745 คน

ชุมชน

ชุมชนในเขตเทศบาล (แยกตามเขต) รวม 71 ชุมชน
เขต 1 ประชากร ครัวเรื่อน หลังคาเรือน เขต 2 ประชากร ครัวเรื่อน หลังคาเรือน
หัวเมืองพัฒนา 915 165 197 หน้าวัดนครสวรรค์ 621 168 201
หลังอู่ทันจิตต์ 682 173 207 บางปรอง 871 195 234
หิมพานต์ 441 110 132 ตลาดใหม่ 215 82 68
ตลาดตายอม 877 256 307 สถานีรถไฟปากน้ำโพ 298 143 171
วรนาถ 1,148 286 343 เขาโรงครัว 633 164 196
ไชยศิริ 719 184 220 เกาะยม 1,100 235 281
ตัดใหม่ 906 220 264 ป้อมหนึ่ง 306 103 123
สุนันทา 642 155 186 ตลาดลาว 796 207 248
หลังแขวงการทาง 625 246 295 โกมินทร์ 306 122 146
ยุวบัณฑิต 1,085 335 403 รณชัย 291 129 154
เฉลิมชาติ 338 118 141 วัดตะแบก 301 86 78
จำลองวิทย์พัฒนา 283 125 70 หน้าผา 748 173 207
วิมานแมน 901 263 315 ป่าไม้ 555 203 243
ดาวดึงส์พัฒนา (ย่งอัน) 942 278 333 ทรายทองพัฒนา 755 198 238
วัดโพธิ์ 584 181 205 ตลาดริมเขื่อนฯ 985 324 365
ตลาดบ่อนไก่ 720 231 255

เขต 3 ประชากร ครัวเรื่อน หลังคาเรือน เขต 4 ประชากร ครัวเรื่อน หลังคาเรือน
ชอนตะวัน 787 128 153 เจ้าแม่ศรีจันทร์ 1,098 281 337
บางเรารักกันจริง 628 156 187 เขาโกรกพม่า 421 116 140
หน้าอุทยานสวรรค์ 448 91 107 วิมานลอย 508 90 108
พรสวรรค์ 327 86 101 พระบางมงคล 1,121 251 301
หนองผักตบ 1,494 546 656 นวมินทร์ 488 90 108
หนองปลาแห้ง 651 167 200 หน้าโรงเกลือ 958 185 222
วัดเขาจอมคีรีนาคพรต 425 95 113 เขานกกระเต็น 1,166 244 293
สะพานดำ 1,538 494 593 ถาวรพัฒนา 1103 284 340
ตลาดใต้ 1,455 355 426 วัดไทรใต้ 818 160 192
วัดพรหม 504 332 398 วัดไทรเหนือ 1178 274 329
สามัคคีพัฒนา 885 139 167 ประชานุเคราะห์ 490 99 129
วัดเทวดาสร้าง 589 105 126 ข้าง พ.ว.น. 514 85 101
ฟ้าใหม่ 517 152 182 หลวงปู่ท้าวพัฒนา 489 88 105
เดชาพัฒนา 318 84 99 วัดพุทธ 1,026 161 193
หนองสาหร่าย 909 272 326 สวัสดีพัฒนา 936 227 272
รวมใจพัฒนา 478 124 155 สุขสวัสดิ์ (ศูนย์ท่ารถ) 632 219 262
สุขสวรรค์พัฒนา 567 134 161 เจ้าพ่อเศรษฐี 1,254 505 606
ธารบัวสวรรค์-สิริทรัพย์ 530 170 181 ดารารัตน์ 4 354 142 170
ร่วมใจพัฒนา 264 116 139
สะพานใหม่พัฒนา 594 122 103
เขาช่องลม 671 238 560
เขากบเอราวัณ 807 146 122
อาชีพ

ประชากรในเขตเทศบาลประกอบอาชีพต่าง ๆ ดังนี้

  1. อาชีพค้าขาย ร้อยละ 46
  2. อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 25
  3. อาชีพรับราชการ ร้อยละ 11
  4. อาชีพบริการต่าง ๆ ร้อยละ 18

ที่มา: กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการวางและจัดทำแผนผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะเทศบาลนครนครสวรรค์

เชื้อชาติ

ประชาชนส่วนใหญ่ มีเชื้อชาติไทยคิดเป็นร้อยละ 96.0 รองลงมาเป็นเชื้อชาติจีนเสียส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 1.9 มีเชื้อชาติอื่น ๆ เพียงเล็กน้อย รวมไม่เกินร้อยละ 0.1

ศาสนา
  • ศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 99.72
  • ศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 0.09
  • ศาสนาคริสต์ คิดเป็นร้อยละ 0.18
  • ศาสนาซิกซ์และอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.01
เศรษฐกิจ

ในเขตเทศบาลบริเวณใจกลางเมืองส่วนใหญ่จะเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมและธุรกิจต่างๆ และพื้นที่ที่อยู่ต่อเนื่องจะเป็นบริเวณที่เป็นย่านที่อยู่อาศัยเดิมโดยมีลักษณะทางด้านเศรษฐกิจ ดังนี้

ด้านพาณิชยกรรมและบริการ

  • สถานีบริการน้ำมัน 14 แห่ง
  • ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า 5 แห่ง
  • ตลาดสด 3 แห่ง
  • ตลาดริมเขื่อน 2 แห่ง

สถานประกอบเทศพาณิชย์

  • กิจการการประปาเทศบาล 3 แห่ง
  • สถานธนานุบาล 3 แห่ง
  • สถานีขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ 1 แห่ง
  • โรงฆ่าสัตว์ 1 แห่ง

สถานประกอบการด้านบริการ

  • โรงแรม 24 แห่ง
  • โรงภาพยนตร์ 1 แห่ง

การอุตสาหกรรม

  • ลักษณะการประกอบอุตสาหกรรมในท้องถิ่นมี 2 ประเภท คือ อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก
การศึกษา

สถานศึกษาในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์มีจำนวนทั้งสิ้น 40 แห่ง นักเรียน นักศึกษา และพระภิกษุมีประมาณ 58,326 คน ห้องเรียนจำนวน 1,787 ห้อง ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา มีจำนวน 3,320 คน โดยแยกเป็นสถาบันการศึกษาสังกัดต่าง ๆ รวม 7 สังกัด ดังนี้

ข้อมูลสถานศึกษาแยกตามสังกัด
สังกัด แห่ง นักเรียน (คน) ห้องเรียน (ห้อง) ครู/อาจารย์ (คน)
1. สถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ 8 6,342 214 365
2. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1 5 14,453 332 657
3. สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2 7,706 265 298
4. สถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน ระดับอนุบาล - ช่วงชั้นปีที่ 1 - 4 ระดับอาชีวศึกษา 20 16,385 437 718
5. สถานศึกษาสังกัดกระทรวงกีฬาและการท่องเที่ยว 1 317 12 50
6. สถานศึกษาสังกัดกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ 3 353 15 55
7. สถานศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย 3

ด้านสาธารณูปโภค

ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ มีระบบสาธารณูปโภคเพื่อให้บริการแก่ประชาชน ดังนี้

  1. ทางหลวงแผ่นดิน 4 สาย ที่สำคัญ ได้แก่
    • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน)
    • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (บางปะอิน-นครสวรรค์)
    • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 (นครสวรรค์-พิษณุโลก)
    • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 (นครสวรรค์-ชัยภูมิ)
  2. ถนนภายในเขตเทศบาล มีทั้งหมด 430 สาย ยาวประมาณ 126,475 เมตร แยกเป็น
    • ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 368 สาย ความยาว 93,690 เมตร
    • ถนนแอสฟัลท์ติก/ลาดยาง จำนวน 59 สาย ความยาว 30,901 เมตร
    • ถนนลูกรัง/หินคลุก จำนวน 3 สาย ความยาว 1,884 เมตร
    • ถนนที่มีทางระบายน้ำ จำนวน 430 สาย ความยาว 147,096 เมตร
  3. พื้นที่ถนนและทางเท้า 1,518,700 ตารางเมตร
  4. สะพานลอย คสล.ข้ามถนน 10 แห่ง
  5. สัญญาณไฟจราจร 15 แห่ง
  6. ไฟฟ้าสาธารณะ 12,000 จุด
  7. กล้องโทรทัศน์วงจรปิด 160 จุด
  8. เขื่อนป้องกันน้ำท่วม เมตร
สถานที่ออกกำลังกายและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  • สนามกีฬาเอนกประสงค์ จำนวน 3 แห่ง
  • สระว่ายน้ำ จำนวน 3 แห่ง
  • สวนสาธารณะ จำนวน 3 แห่ง
  • สนามเด็กเล่น จำนวน 27 แห่ง
ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการไฟฟ้า

การบริการด้านไฟฟ้าและแสงสว่างในเขตเทศบาลเป็นของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟน.3) จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดในเขตเทศบาลทั้งระบบไฟฟ้าภายในอาคาร และระบบไฟส่องสว่างทางสาธารณะ ที่มีกำลังผลิตเพียงพอต่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตเทศบาลจำนวน 42,448 ราย

ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการน้ำประปา

เทศบาลให้บริการประปาครอบคลุมในเขตพื้นที่ของเทศบาลนครนครสวรรค์ และมีผู้ใช้บริการจำนวน 28,196 ครัวเรือน (มีนาคม 2553) มีแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปา และแหล่งน้ำดิบสำรอง คือ แม่น้ำปิง และแม่น้ำยม ตามลำดับ มีกำลังการผลิต 70,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และใช้งานจริงในปัจจุบัน 58,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

ข้อมูลเกี่ยวกับการสื่อสาร
  1. จากข้อมูล เดือนพฤษภาคม 2555 มีชุมสายโทรศัพท์ในเขตเทศบาล จำนวน 10 แห่ง มีหมายเลขโทรศัพท์ เปิดใช้แล้ว จำนวน 19,930 เลขหมาย
  2. ศูนย์โทรคมนาคม จำนวน 1 แห่ง
  3. ที่ทาการไปรษณีย์ จำนวน 2 แห่ง
  4. สถานีวิทยุกระจายเสียง จำนวน 2 แห่ง
  5. วิทยุชุมชน จำนวน 20 แห่ง
  6. สถานีถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ จำนวน 6 แห่ง
  7. หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จำนวน 20 ฉบับ
ข้อมูลเกี่ยวกับการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
  • โรงพยาบาลในเขตเทศบาล มีจำนวน 6 แห่ง แยกเป็น
  • โรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 1 แห่ง จำนวนเตียง 653 เตียง
  • โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 5 แห่ง จำนวนเตียง 473 เตียง
โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ (น้ำเสีย)

ปริมาณน้ำเสียที่ถูกนำเข้าโรงบำบัดน้ำเสีย 40,000 ลบ.ม. / วัน สามารถบำบัดน้ำเสียได้ตามมาตรฐานคุณภาพทิ้ง โดยวิธี (MSBR) Modified Sequence Batch Reactor แบบชีวมวลตะกอนเร่ง

โรงกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (ขยะ)

ปริมาณขยะที่เกิดประมาณ 140 ตันต่อวัน ซึ่งสามารถกำจัดได้ทั้งหมด โดยวิธีฝังกลบ อย่างถูกสุขลักษณะและหลักสุขาภิบาล มีที่ดินสำหรับกำจัดขยะของเทศบาลขนาดพื้นที่ 266 ไร่ ดำเนินการแล้ว 55.375 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านมะเกลือ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ห่างจากเขตเทศบาลเป็นระยะทาง 13 กิโลเมตร

โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ (น้ำเสีย)

อัตรากำลังในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

  • พนักงานดับเพลิง จำนวน 102 คน
  • อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (อปพร.) จำนวน 2,185 คน
  • มีการฝึกซ้อมบรรเทาสาธารณภัย สัปดาห์ละ 3 วัน
ข้อมูลด้านศักยภาพของเทศบาล

เทศบาลนครนครสวรรค์เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถในการบริหารงาน เพื่อให้บริการประชาชนในเขตพื้นที่การปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มความสามารถ โดยมีระบบโครงสร้างการบริหารงาน อัตรากำลังบุคลากรขององค์กร และสถานะการคลัง ดังนี้

ฝ่ายนิติบัญญัติ

สภาเทศบาลทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 24 คน เลือกตั้งโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี มีประธานสภา 1 คน และรองประธาน 1 คน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล

ฝ่ายบริหาร

การบริหารงานเทศบาล ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีเป็นฝ่ายบริหารทางด้านนโยบาย มีรองนายกเทศมนตรีจำนวน 4 คน เป็นผู้ช่วย และฝ่ายปฏิบัติงานประจำมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และพนักงานเทศบาลและลูกจ้างเป็นฝ่ายปฏิบัติ ติดตามนโยบายที่นายกเทศมนตรีมอบหมายงานให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนที่กำหนด แบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ ได้ 9 ส่วน ได้แก่

  • สำนักปลัดเทศบาล
  • กองวิชาการและแผนงาน
  • สำนักการคลัง
  • สำนักการช่าง
  • หน่วยงานตรวจสอบภายใน
  • สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
  • สำนักการศึกษา
  • กองสวัสดิการสังคม
  • สำนักการประปา
แผนที่ตั้งเทศบาลนครนครสวรรค์

ดูแผนที่ขนาดเต็ม


ติดต่อเรา
ที่ตั้ง สำนักงานเทศบาลนครนครสวรรค์
เลขที่ 112 ถนนอรรถกวี ตำบลปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000
โทรศัพท์ : 056-219555 โทรสาร : 056-219519 E-mail http://mail.nsm.go.th , saraban.nsmc@gmail.com